วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

แผ่นดินถล่ม

แผ่นดินถล่ม

การเกิดดินถล่ม เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ป้องกันได้ยากแต่เราก็สามารถลดปัจจัยความเสี่ยงได้ ถ้าเรามีการเตรียมพร้อมเฝ้าระวังที่ดีแล้ว จะลดความเสียหายได้แน่นอน
การสังเกตก่อนเกิดดินถล่ม
- น้ำในลำห้วยขุ่นมาก หรือมีสีแดงขุ่นแสดงว่าจะมีตะกอนไหลมาตามลาดเขา
- เวลาฝนตกนาน ๆ จะมีเสียงดังเหมือนตอนมีน้ำป่ามา ต้นไม้ล้มหรือก้อนหินกลิ้งดังครืน ๆ ถ้ามีเสียงนั้นจริง ๆ แสดงว่าดินจะถล่มลงมา
- บ้านที่อยู่ในที่ราบเชิงเขาอาจจะเกิดดินถล่มจากภูเขาลงมาทำความเสียหายแก่บ้านเรือนได้
สาเหตุการเกิดดินถล่ม
- ฝนตกหนักติดต่อกันหลายวันหรือดินบนลาดเขาเป็นดินร่วนและมีความลาดชัน มาก ๆ
- การทำไร่เลื่อนลอยบนภูเขา ทำให้สภาพดินต้องไป เมื่อฝนตกหนักนาน ๆ ดินบนภูเขานั้นอิ่มน้ำและไถลลงมาตามลาดเขานำเอาตะกอนดิน, ก้อนหิน, ซากไม้ล้มลง มาด้วย
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดดินถล่ม
- ถ้าฝนตกหนักแบบไม่หยุดติดต่อกันหลายวัน ดินบนภูเขาอาจถล่ม ต้องเฝ้าระวังกันให้ดี โดยให้อพยพ หรือให้หนีไปที่สูง ๆ และต้องรีบแจ้งต่อ ๆ ให้รู้ทั่วกันโดยเร็ว
- ถ้าพลัดตกไปในกระแสน้ำห้ามว่ายน้ำหนีเป็นอันขาด เพราะจะโดนซากต้นไม้ ก้อนหินที่ไหลมากับโคลนกระแทกจนถึงตายได้
- ให้หาต้นไม้ใหญ่ที่ใกล้ที่สุดเกาะเอาไว้แล้วปีนหนีน้ำให้ได้
ข้อควรปฏิบัติหลังน้ำลด
- อย่าปลูกบ้านหรือสิ่งก่อสร้างขวางทางน้ำหรือใกล้ลำห้วยมากเกินไป
- ช่วยกันร่วมมือร่วมแรงอย่าตัดไม้ทำลายป่า
- ปลูกต้นไม้เพิ่มไว้ช่วยซับน้ำ
- ช่วยกันปลูกป่าบริเวณที่ถูกทำลายและป้องกันไม่ให้ตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทุก ๆ คนต้องมีส่วนร่วมในการดูแลและเฝ้าระวัง
- จัดเวรยามเพื่อเดินตรวจตาดูสถานการณ์รอบ ๆ หมู่บ้านเมื่อมีสิ่งผิดปกติยามค่ำคืน
- ติดตามฟังข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อทราบสภาพสถานีการณ์ของภาวะฝนตกหนักหรือน้ำป่าไหลหลากa

พายุฝนฟ้าคะนอง

                                 พายุฝนฟ้าคะนอง

  ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากฝนฟ้าคะนอง และลมแรง อากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศข้างเคียงไหลเข้ามาแทนที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆ ทวีความสูงมากขึ้น มองเห็นคล้ายทั่งตีเหล็กสีเทาเข้ม มีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง บางครั้งมีลูกเห็บ หากตกต่อเนื่องหลายชั่วโมง อาจเกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน อาจ เกิดพายุลมหมุนหรือ พายุงวงช้างมีลมแรงมาก ทำความเสียหายบริเวณที่เคลื่อนผ่าน

 

 

สภาวะอากาศก่อน/ขณะ/หลังของพายุฝนฟ้าคะนอง (ช่วง เดือนมีนาคม-พฤษภาคม)
ก่อนเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
อากาศร้อนอบอ้าว
ลมสงบ หรือลมสงบ
ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย
เมฆก่อตัวเป็นรูปทั่งสีเทาเข้ม ยอดเมฆสูงกว่า 10 กม.
ขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง
ฝนตกหนักถึงหนักมาก บางครั้งมีลุกเห็บ
หลังเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
พายุสลายไปแล้วอากาศจะเย็นลง รู้สึกสดชื่นขึ้น ท้องฟ้าแจ่มใส

การป้องกันพายุฝนฟ้าคะนอง
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ติดตั้งสายล่อฟ้าสำหรับอาคารสูงๆ
* ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* ไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ขณะมีฟ้าคะนอง
* ไม่ใส่เครื่องประดับโลหะ และอยู่กลางแจ้ง ขณะมีฝนฟ้าคะนอง

 

อุทกภัย

 อุทกภัย

ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อน ลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ แบ่งได้ 2 ชนิด

1.1 อุทกภัยจากน้ำป่าไหลหลากและน้ำท่วมฉับพลัน เกิดจากฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง ดินดูดซับไม่ทัน น้ำฝนไหลลงพื้นราบอย่างรวดเร็ว ความแรงของน้ำทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน ชีวิต ทรัพย์สิน

1.2 อุทกภัยจากน้ำท่วมขังและน้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำในแม่น้ำ ลำธารล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติ ท่วมและแช่ขัง ทำให้การคมนาคมชะงัก เกิดโรคระบาด ทำลายสาธารณูปโภค และพืชผลการเกษตร

การป้องกันอุทกภัย
* ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยา
* สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้าย โทร 053-277919 ตลอด 24 ชั่วโมง
* ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น
* เตรียมน้ำดื่ม เครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร
* ซ่อมแซมอาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร
* เตรียมพร้อมเสมอเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพไปที่สูง เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย และฝนตกหนักต่อเนื่อง
* ไม่ลงเล่นน้ำ ไม่ขับรถผ่านน้ำหลากแม้อยู่บนถนน ถ้าอยู่ใกล้น้ำ เตรียมเรือเพื่อการคมนาคม
* หากอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง ป้องกันโรคราด ระวังเรื่องน้ำและอาหาร ต้องสุก และสะอาดก่อนบริโภค

ภัยธรรมชาติ

ภัยธรรมชาติ

นั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หรือมนุษย์ได้ทำให้มันเกิดขึ้นมา ภัยธรรมชาติมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไปบางอย่างร้ายแรงน้อย บางอย่างร้ายแรงมากซึ่งอาจทำให้เกิดผลเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเกิดอุทกภัยหรือน้ำท่วม การเกิดพายุ การเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด เป็นต้น ซึ่งภัยธรรมชาติต่างๆไม่ว่าจะร้ายแรงมากหรือน้อยก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาโดยที่มนุษย์ไม่ได้ตั้งตัว แบ่งเป็น 8 ประเภท


วาตภัย | อุทกภัย | ทุกขภิกขภัย | พายุฝนฟ้าคะนอง | คลื่นพายุซัดฝั่ง | แผ่นดินไหว | แผ่นดินถล่ม | ไฟป่า


เดือน

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในภาคเหนือ

กุมภาพันธ์

ไฟป่า

มีนาคม

พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง

เมษายน

พายุฤดูร้อน , ไฟป่า , ฝนแล้ง

พฤษภาคม

พายุฤดูร้อน , อุทกภัย

มิถุนายน

อุทกภัย , ฝนทิ้งช่วง

กรกฎาคม

ฝนทิ้งช่วง , พายุฝนฟ้าคะนอง ,พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย

สิงหาคม

พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง

กันยายน

พายุหมุนเขตร้อน , อุทกภัย , พายุฝนฟ้าคะนอง

สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

 

สถานการณ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า

เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตอากาศร้อนชื้น พืชและสัตว์ในประเทศจึงมีความหลากหลาย สภาพแวดล้อมมีระบบนิเวศ ทีสลับซับซ้อน มีความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันกับระบบนิเวศในภูมิภาคและในโลก ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นั้น คนไทยรู้จักการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่ามานาน แต่เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงลานจำนวนมากที่ยังพึ่งพิงการใช้ประโยชน์จากสัตว์ป่าอยู่

ทรัพยากรน้ำ

ทรัพยากรน้ำ

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตทั้งของมนุษย์สัตว์ และพืชในประเทศไทยนอกเหนือจากการใช้น้ำเพื่อการดำรงชีวิตโดยตรงแล้วยังใช้ในการเกษตรกร อุตสาหกรรม คมนาคมผลิตกระแสไฟฟ้า และประเพณีต่างๆ ถือว่าคนไทยวีถีชีวิตที่ผูกพันกับน้ำมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน

น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 1,550 มิลลิเมตร หรือคิดเป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาปีละประมาณ 800,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แล้วกลายไปเป็นน้ำผิวดิน ซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นน้ำบาดาลและถูกดินดูดซับไว้ อีกส่วนหนึ่งจะถูกพืชดูดไปใช้ นากจากนั้นจะระเหยออยู่ในอากาศโดยน้ำฝนที่ตกในประเทศไทยเกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม

วิกฤตการด้านทรัพยากรธรรมชาติของโลก

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก

3.1 วิกฤตการด้านทรัพยากรธรรมชาติของโลก มีดังนี้

(1) การตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ (2) ความเสื่อมโทรมของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน (3) การขาดแคลนทรัพยากรน้ำจืด 3.2 วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก (1) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน และชั้นโอโซนถูกทำลาย) (2) มลพิษทางอากาศ (3) หมอกควัน และฝนกรด (4) ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) (5) ปรากฏการณ์เอลนิโญ (El Nino) (6) การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม

(7) การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของโลก

 

(1) ปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกทำลายไป

(2) อนุรักษ์ป่าไม้ไว้ไม่ให้บุกรุกไปสร้างบ้านเรือนจนกินเนื้อที่ป่ามาก

(3) ควบคุมดูแลการใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด

 

ขยะมูลฝอย

 

 

วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก

1. ปัญหาวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก ปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ปัญหาใหญ่ ดังนี้ 1.1 ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติลดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง 1.2 ปัญหาการเกิดมลภาวะหรือมลพิษต่าง ของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ มลพิษของเสียง และมลพิษจากขยะมูลฝอย


(ขอบคุณภาพจากอินเตอร์เนต)

.... ภาพข่าวแห่งปี !!! สลดและสยอง กับสาระพัดภัยธรรมชาติ และอุบัติภัยต่อสภาพแวดล้อม ....

หมายเหตุบลอกเกอร์
เวบไซต์ www.telegraph.co.uk ได้รวบรวมเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ และ อุบัติภัยขนาดใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ในรอบปี 2010 ที่ผ่านมา
ผมขอคัดบางส่วน จากทั้งหมด 30 รูป มาลงในเอนทรีนี้ เพื่อ เป็นการรำลึก ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา
ขณะเดียวกัน ก็หวัง ว่าภัยธรรมชาติ และ อุบัติภัยเหล่านี้ จะเป็นสัญญาณเตือน ให้เราได้คิด
ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในปีใหม่ ให้ดำเนินไปอย่างพอเหมาะพอควร
ทำความเข้าใจ ต่อสัญญาณเตือนภัยจากธรรมชาติ และ หันมาดำเนินชีวิตที่พึ่งพิงอิงแอบธรรมชาติ
พร้อมกันนั้น ก็ให้รับรู้ ถึงภัยอันตรายอันใหญ่หลวง ของอุบัติภัยจากฝีมือมนุษย์ ที่ได้ส่งผล ต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งย่อมสะท้อนกลับ มาคุกคามต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต อันรวมถึงมนุษย์ด้วย

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย

จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น

ประเภทของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ก. ทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามลักษณะที่นำมาใช้ได้ 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่

1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด

2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่ การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม ย่อมทำให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลงถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืชสลับและหมุนเวียน

2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่

1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้

2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน พร สวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ

3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมายุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิม แล้วนำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ

4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมันก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้

ทรัพยากรธรรมชาติหลักที่สำคัญของโลก และของประเทศไทยได้แก่ ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ แร่ธาตุ และประชากร (มนุษย์)